Pages

Sunday, October 7, 2012

การควบรวมนิติบุคคลต้อง "ปรองดอง"

การควบรวมนิติบุคคลต้อง "ปรองดอง"

การควบรวมนิติบุคคลต้อง "ปรองดอง"


โครงการ ขนาดใหญ่ที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดินเป็นหลายเฟสในโครงการเดียวกัน โดยมีการใช้ถนนเมนและสาธารณูปโภคบางส่วนร่วมกันเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้า แล้ว ก็จะมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรทุกเฟสตามที่ได้ขออนุญาตไว้กับสำนักงาน ที่ดิน

ใน ความเป็นจริงถึงตอนที่ลูกค้าเข้าอยู่อาศัยจะมีปัญหาขัดแย้ง ทั้งแย่งกันใช้ประโยชน์ถนนเมนเข้าออกการรักษาความปลอดภัยและการบำรุงรักษา สภาพแวดล้อมทั้งนี้เพราะไม่รู้ว่าจะเป็นหน้าที่ของกรรมการชุดใด
นอกจากนี้ความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายก็ได้รับความร่วมมือน้อยเพราะ จะมีข้ออ้างาบางเฟสว่ามีเงินค่าส่วนกลางไม่มากพอ หรือมีการใช้ประโยชน์ของถนนและสาธารณูปโภคน้อยกว่าเฟสอื่น ปัญหานี้เกิดขึ้นกับหลายหมู่บ้านจนไม่สามารถตกลงกันได้ ต้องปล่อยให้ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างใช้ ไม่มีกฏกติกา ไม่มีการดูแลรักษา ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย ถนนชำรุดท่อระบายน้ำอุดตัน ต้นไม้ขาดการดูแล ถนนมีแต่ขยะส่วนคณะกรรมการก็จะดูแลเฉพาะภายในเฟสของต้นเองเท่านั้น
และแม้ว่าจะมีคณะกรรมการบางส่วนที่ต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการควบรวมนิติบุคคลเพื่อจะได้บริหารจัดการพื้นที่ส่วนกลางร่วมกันอย่าง เป็นเอกภาพซึ่งขั้นตอนและกระบวนการขออนุญาตต่อสำนักงานที่ดินสามารถทำได้โดย สะดวก (ดูกฏกระทรวงเรื่องการควบรวมนิติบุคคล พ.ศ.2545 หมวด 3 ข้อ 9 ) แต่สิ่งที่เป็นไปได้ยากคือการลงมติอย่างเอกฉันท์ของลูกบ้านทั้งหมด และจากประสบการณ์หมู่บ้านที่ไม่ประสบผลสำเร็จล้วนมีสาเหตุลึกๆ ดังนี้
1. คณะกรรมการ เมื่อมีการควบรวมนิติบุคคลแล้ว คณะกรรมการจะถูกยุบจาก 3-4 คณะเหลือเพียงคณะเดียว อันที่จริงเป็นเรื่องที่ยากที่จะยอมรับกันได้ เพราะจะเกิดทิฐิและการต่อต้านการลงมติควบรวมจากคณะกรรมการตั้งแต่เริ่มต้น โดยที่ผู้อาศัยอื่นๆ ไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำ

2. ผู้อาศัย โดยปกติแล้วเมื่อชำระค่าส่วนกลางและได้รับการดูแลจากคณะกรรมการเป็นอย่างดี จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันแล้ว และการอยู่อาศัยก็เป็นไปด้วยความอยู่ดีมีสุข ความรู้สึกในการควบรวมก็ไม่มีความจำเป็น หากควบรวมแล้วอนาคตจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ รู้ว่าวันนี้ก็ดีอยู่แล้วจะควบรวมไปทำไม ปัญหาที่ตามมาคือการขอมติเอกฉันท์จากผู้อาศัยจะได้รับการเฉยเมย ไม่ประสงค์จะควบรวม

3. งบประมาณ งบในการบริหารจัดการของการควบรวมซึ่งต้องร่วมกันจ่ายค่าส่วนกลางทั้งหมดก็ดู เหมือนจะไม่เป็นธรรมกับเฟสที่ใช้งบประมาณน้อย เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบจนทำให้การควบรวมไม่สามารถตกลงกันได้

4. ค่าใช้จ่ายส่วนกลางคงเหลือ กรณีสืบเนื่องถ้าใช้น้อยเงินก็เหลือมาก โดยทั่วไปแล้วจะเหลือมากแตกต่างกัน นิติบุคคลที่มีเงินเหลือมากก็ไม่อยากจะรวมกับนิติบุคคลที่มีเงินน้อย กลัวโดนตำหนิจากลูกบ้านเพราะเสียเปรียบเฟสอื่น อุปสรรคของการควบรวมจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

5. เงินกองทุน สำหรับเงินก้อนนี้จะจัดเก็บเป็นเงินก้อนจากลูกค้าในวันโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งแต่ละเฟสจะมีจำนวนยูนิตแตกต่างกัน เงินกองทุนที่จัดเก็บก็จะได้มากน้อยไม่เท่ากัน หลายแห่งไม่ยินยอมที่จะนำเงินก้อนมารวมกัน แต่ต้องการเก็บไว้พัมนาโดยเฉพาะในเฟสของตนเองเท่านั้น จึงไม่สามารถตกลงกันได้
จะเห็นได้ว่ามีเหตุผลต่างๆ นานาที่ทำให้เกิดอุปสรรคมากมาย จนมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์แต่ถ้าเราต้องการควบรวมนิติบุคคลอย่าง จิงจังแล้ว ก็ต้องวิเคราะห์ให้ผู้อาศัยทราบถึงประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับความน่าอยู่ของ หมู่บ้าน และการรักษาสาธารณูปโภคในระยะยาว
ปัญหาเรื่องเงินกองทุนและค่าส่วนกลางคงเหลือควรเฉลี่ยเป็นรายยูนิตว่า เหลือเท่าไร เพราะจะทำให้ไม่แตกต่างกันมากนัก น่าจะยอมรับกันได้ และเมื่อประชาสัมพันธ์ให้ลูกบ้านเข้าใจแล้ว โอกาสคงบรวมนิติบุคคลก็ย่อมมีความเป็นไปได้สูง
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้สำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประธานและคณะ กรรมการในแต่ละเฟส ที่ต้องลดทิฐิของตนเองและหันมาปรองดองกัน ว่ากันด้วยเหตุผลคำนึงถึงผลประโยขน์สูงสุดที่ลูกบ้านจะได้รับ ตำแหน่งต่างๆสามารถสับเปลี่ยนกันได้ ช่วยกันทำงานและนำประสบการณ์มาใช้ในการบริหารร่วมกัน ความสุขก็จะเกิดขึ้นกันทุกคน และต้องคำนึงเสมอว่าเราคือคนในหมู่บ้านเดียวกัน

0 comments:

Post a Comment