Pages

Sunday, October 7, 2012

“บ้าน-ที่ดิน”ปัญหาเมื่อต้องแบ่งสินสมรส (1)

“บ้าน-ที่ดิน”ปัญหาเมื่อต้องแบ่งสินสมรส (1)

“บ้าน-ที่ดิน”ปัญหาเมื่อต้องแบ่งสินสมรส (1)


เมื่อ สามีภรรยาถึงจุดที่ต้องแยกทางหรือหย่ากัน ปัญหาที่มักตามมาเสมอคือการจัดการเรื่องสินสมรส ปัญหาว่าสินส่วนตัวกับสินสมรสแตกต่างกันอย่างไรนั้นเกิดกับทุกครอบครัวเมื่อ มีการหย่า หรือกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดตายก่อน อีกฝ่ายก็มีสิทธิขอให้กันสินสมรสออกก่อนการแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม หรือแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมก็ตาม

นอก จากนั้นก็มีปัญหากรณีคู่สมรสเข้าใจผิดคิดว่าหาทรัพย์สินมาได้จึงเป็นของตน เลยนำสินสมรสไปทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นเสียหมด หรือนำไปยกให้คนอื่นขณะมีชีวิตอยู่ รวมถึงการนำไปทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส  
เมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว ปัญหาแรกที่ต้องวินิจฉัยก็คือการสมรสชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อผ่านขั้นนี้มาแล้วก็ต้องดูกันต่อมาว่าอะไรบ้างเป็นสินสมรส มีหลายกรณีนะครับที่ถึงแม้จะได้รับทรัพย์สินมาระหว่างสมรสแต่ก็ไม่เป็นสิน สมรส ผมจะนำมากล่าวโดยเรียงลำดับเป็นเรื่องๆ ไป แต่จำกัดเฉพาะเรื่องบ้านและที่ดินเท่านั้นเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะของ คอลัมน์นี้นะครับ  
สินส่วนตัว ได้แก่ 1.ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส 2.ของใช้ส่วนตัวเครื่องประดับเครื่องประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ 3.ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือการให้โดยเสน่หา 4.ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น  
สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สิน 1.ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (ตั้งแต่วันจดทะเบียนสมรสเป็นต้นไป)ไม่ว่าอีกฝ่ายจะช่วยหาด้วยหรือไม่ก็ตาม 2.ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือระบุว่าเป็นสินสมรส 3.ดอกผลของสินส่วนตัว
จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวนี้ ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสินส่วนตัวหรือสินสมรสคือกรณีที่ ฝ่ายใดมีทรัพย์สินอยู่ก่อนสมรส หรือได้มาในระหว่างสมรสดังกล่าวในข้อที่ 1 ของทั้งสองกรณีนั่นเอง  
คราวนี้มาเข้าเรื่องเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ กันเลยดีกว่าครับ เช่น กรณีการได้ทรัพย์สินมาภายหลังการสมรสบางกรณีก็ไม่เป็นสินสมรสนะครับ เช่น หลังสมรสภรรยาปลูกบ้านบนที่ดินของตนเองที่มีอยู่ก่อนสมรส ซึ่งก็ต้องเป็นสินส่วนตัว แม้สามีช่วยออกเงินบ้างแต่ก็บางส่วนเพื่อเป็นการช่วยเหลือตามฐานานุรูป อย่างนี้บ้านจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินที่เป็นสินส่วนตัว บ้านจึงไม่ใช่สินสมรสหากภรรยาเสียชีวิตสามีจะขอกันสินสมรสไม่ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 5249/2533)  
ก่อนสมรสคู่สมรสฝ่ายใดได้ที่ดินมือเปล่า (ที่ดินที่ยังไม่ออกเป็นโฉนด) ซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นต่อมาได้ออกโฉนดที่ดินหลังสมรส แม้เป็นกรณีได้กรรมสิทธิ์ที่ดินภายหลังจดทะเบียนสมรสแล้วก็ยังถือว่าเป็นสิน ส่วนตัวอยู่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2375/2532)  
ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนทำการสมรส แต่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งแสดง กรรมสิทธิ์ที่ดินภายหลังสมรสแล้วก็ถือว่าเป็นที่ดินที่ได้มาก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวครับ (คำพิพากษาฎีกาที่ 812/2538)  
ได้รับการยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรส แม้จะอยู่กินฉันสามีภริยาแล้วแต่ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนสมรสก็ไม่ทำให้เป็นสินสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ 5736/2534)ข้อนี้เป็นอุทาหรณ์ในเรื่องควรจดทะเบียนสมรสเสียให้ถูกต้องก่อนนะครับ  
โดยหลักสำ คัญการได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองมาก่อนการจดทะเบียนสมรส ซึ่งถือว่าเป็นสินส่วนตัว มีปัญหาว่ากรณีคู่สมรสทำสัญญาจะซื้อที่ดินวางเงินมัดจำและผ่อนชำระมาเรื่อยๆ ต่อมาทำการสมรสแล้วก็ผ่อนค่าที่ดินจนครบ และรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาในภายหลัง อย่างนี้ถือเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสไว้ต่อคราวหน้านะครับ...สวัสดี

0 comments:

Post a Comment