Pages

Friday, September 14, 2012

การประเมินราคาบ้านที่ดิน หรือที่อยู่อาศัย

การประเมินราคาบ้านที่ดิน หรือที่อยู่อาศัย
 
    เป็นการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (Property Valuation) ซึ่งหมายถึง กระบวนการในการวิเคราะห์มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ ที่ดินเปล่า คอนโดมิเนียม อย่างละเอียดรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อทราบมูลค่าตลาดยุติธรรมที่เหมาะสม โดยทำการตรวจสอบสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง), วิเคราะห์ตรวจสอบทำเลที่ตั้งทรัพย์สิน-สภาพแวดล้อมโดยรอบ ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก ตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ผังเมือง,การเวนคืน,การรอนสิทธิ์,การอายัด,การตรวจสอบสิทธิ์ในการถือครอง ที่ดินตามกฎหมาย,การตรวจสอบภาระผูกพันต่าง ๆ ที่มีของทรัพย์สิน, การตรวจสอบสภาพและความสะดวกของทางเข้า-ออก, การตรวจสอบสิทธิ์ของทางเข้า-ออกตามกฎหมาย, การสืบค้นและการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดเพื่อทราบมูลค่าตลาดยุติธรรมที่เหมาะสม ของทรัพย์สิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดราคาซื้อ-ขาย การตีราคาบ้านว่าควรจะซื้อ-ขายในราคาเท่าใด หรือเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการปล่อยสินเชื่อ และกำหนดวงเงินสินเชื่อ ซึ่งการประเมินราคาสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  1. การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมการซื้อ การขาย การตีราคาแลกเปลี่ยน
  2. การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน เช่น นำไปจำนอง , พิจารณาวงเงินกู้
  3. การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในการจ่ายเงินชดเชย เช่น กรณีที่มีการเวนคืนที่ดิน
  4. การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเก็บภาษี หรือกำหนดราคาประเมินราชการ
  5. การประเมินราคา เพื่อนำไปใช้ในการบันทึกบัญชี
  6. การประเมินราคา เพื่อประมาณการผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ประมาณค่าเช่า เป็นต้น
    ซึ่งมูลค่าที่ประเมินราคานั้น อาจจะไม่ใช่ราคาที่ซื้อ-ขาย โดยอาจจะสูงกว่า เท่ากัน หรือต่ำกว่าราคาซื้อขายก็ได้ เนื่องจากมูลคาที่ประเมินราคานั้น ไม่อิงกับกระแส และภาวะอารมณ์ของผู้ซื้อ-ผู้ขาย แต่จะเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐาน, ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน และตามสภาวะเศรษฐกิจโดยมูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินราคามีองค์ประกอบดังนี้
  1. ผู้ซื้อและผู้ขายพึงพอใจ และเต็มใจที่จะซื้อ,ขายอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ
  2. ความเหมาะสมของราคาอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นราคาที่เหมาะสมในการซื้อขาย ที่เวลาอันเหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ประเมินราคานั้น ๆ
  3. ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ มากพอ และมีความรอบคอบ เพื่อเหตุผลในการตัดสินใจซื้อขาย ทั้งสภาพทางกายภาพของทรัพย์สิน,ทำเลที่ตั้ง-สภาพแวดล้อม,ผลกระทบทางกฎหมาย และตามความต้องการ (Demand & Supply) ในสภาพตลาดปกติทั่ว ๆ ไป
  4. การซื้อ-ขาย เกิดขึ้นอย่างยุติธรรม ไม่มีการข่มขู่บังคับ-ผลประโยชน์เกี่ยวข้อง หรืออิทธิพลใด ๆ

0 comments:

Post a Comment