Pages

Thursday, May 17, 2012

วิธีต่อรองราคาอย่างนักช้อปมืออาชีพ

 
         ไม่ว่าจะช็อปเมืองไทย หรือไปเมืองนอก หญิงไทยได้ชื่อว่าต่อราคาเก่งเสมอ
“เท่าไหร่คะพี่…ลดหน่อยได้มั้ยคะ” ประโยคนี้ใครเป็นขาช็อป ย่อมคุ้นเคย
เป็นอย่างดีจะลดมากหรือลดน้อยไม่ว่าขอให้ฉันได้ชื่อว่า ซื้อของถูกสักหน่อย
เถอะนี่คือปรัชญาและความสุขอย่างหนึ่งของคนซื้อ แต่ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
เพราะฉะนั้นอยากได้ของถูก ก็ต้องใช้เทคนิคกันหน่อย ว่ามั้ย!!
เช็คราคาหลายๆ ร้านเพื่อความชัวร์
เมื่อเกิดอาการถูกใจของเข้าชิ้นหนึ่ง อย่าเพิ่งใจร้อนเอ่ยปากต่อราคาทันที
เราต้องไปสำรวจร้านอื่นๆในละแวกเดียวกันก่อน เพื่อเปรียบเทียบราคา
ให้แน่ใจว่าของชิ้นนี้ราคาประมาณนี้จริงหรือเปล่า และอีกกรณีหนึ่งคือ
ถ้าร้านไหนติดป้ายราคา ไว้ชัดเจน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เขาอาจตั้งโอเวอร์ไว้เผื่อต่อแน่นอน
ตั้งราคาที่พอซื้อได้ไว้ในใจ แล้วค่อยลงมือต่อราคา
เมื่อเจอร้านที่คิดว่าราคาเข้าท่าที่สุดแล้ว ต้องดูด้วยว่า คนขายท่าทางใจดี
และเป็นมิตร หรือเปล่า ถ้า โอเคก็เข้าไปดูอีกรอบ งัดประโยคคลาสสิค
ออกมาถามนำคนขาย ก่อนเลยว่า “ลดได้เท่าไหร่คะ” แน่นอนตามสูตร
คนขายมักลดให้ไม่เกิน 10 % ระหว่าง นั้นอย่าแสดงอาการว่าอยากได้จน ออกนอกหน้า
เดี๋ยวคนขายรู้ไต๋ พยายามผูกมิตร ทำทีเป็นยิ้มแย้ม แล้วลองหยั่งเชิง
ขอลดประมาณ 40 % ไปเลย ถ้ายังไม่ได้ก็ ต้องลองต่ออีกสักยก (ยกเว้นที่บาหลี
ควรต่อเกินครึ่งเข้าไว้ แล้วสุดท้าย คุณจะได้ ของในราคาลด 40-50%)
ครั้งแรกยังไม่ได้ ก็ทนใช้ลูกตื้ออีกหน่อย
ลองต่อลงมาอีกสัก 10 % อย่าพยายามต่อราคาแบบถ้วนๆ ต้องมีเศษบ้าง เช่น 20-60
บาท จะได้ดูเหมือนว่าไม่เยอะเกินไป เท่านั้นยังไม่พอ ควรพูดจาออดอ้อน หวานๆ
กับคนขาย เข้าไว้ (โดยเฉพาะ ถ้าคนขายเป็นผู้ชาย)
ถ้าเขาหรือเธอยังมีท่าทางใจแข็ง อาจจะบอกว่ามีเงินอยู่แค่นี้
เผื่อคนขายจะเกิดอาการสงสาร หรือไม่ก็พบกันครึ่งทาง
ในราคาที่เราพอใจจะซื้อเป็นครั้งสุดท้าย
ถ้ายังไม่สำเร็จอีก คงต้องงัดไม้ตายสุดท้ายออกมา
ไม้ตายสุดท้ายที่ว่า อันนี้หลายคนใช้บ่อย คือ
ไม่ซื้อก็ได้แล้วเดินออกจากร้านไป ซึ่งจากประสบการณ์ 80 % มักได้ผล
(เพราะล่าสุดเพิ่งใช้วิธีนี้เหมือนกันค่ะ) แต่ถ้ายังไงๆ
คนขายก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอม ลองไตร่ตรองดูว่าจำเป็นหรืออยาก ได้มากแค่ไหน
ถ้ามากเราคงต้องเป็นฝ่ายใจอ่อนเสียเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ก็เก็บเงินไว้
ยังมีอีกตั้งหลายร้าน ที่อาจมีสินค้าคุณภาพที่ดีกว่าและถูกกว่าก็ได้
หรืออดใจรออีกสักพัก สุดท้ายถ้าไม่มีใครซื้อเขาก็ต้องเอาออกมาเซลล์วันยังค่ำ
การซื้อของบางครั้งต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง อยากให้เขาลดราคาก็ต้อง
รู้จักกติกาและมารยาท มาดูว่าพฤติกรรมแบบไหนที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง

หมายเหตุ
อาจจะมีคนขายบางประเภทที่เป็นแค่ลูกจ้าง ไม่สามารถลด ให้เราได้จริงๆ
เราก็อย่าไปโกรธ ต่อว่าต่อขาน หรือทำท่าเชิดใส่เขา กิริยาแบบนี้จะยิ่ง
ทำให้เขา ลำบากใจ สู้เดินออกมาเฉยๆ แล้วไปหาร้านอื่น จะดูดีกว่าเยอะเลย
เวลาเดินเลือกของ ไม่ซื้อไม่ว่าแต่อย่าแสดงกิริยาเหมือนกับว่า ของก็งั้นๆ
ไม่เห็นจะอยากได้เลย แทนที่คนขายจะเข้ามา โอภาปราศัยหรือ ลดราคาให้
กลับกลายเป็นอยากจะไล่ออกจากร้านเสียมากว่า
อย่าทำทีอวดรู้และเถียงกับคนขายว่า คุณรู้นะว่าของชิ้นนี้ราคาต้นทุน
มาเท่าไหร่ ถ้าลดให้คุณในราคาที่คุณเสนอไป คนขายก็ยังได้กำไรอยู่ดี
แบบนี้คงไม่ไหวเพราะวันๆ หนึ่งเขาคงต้องเจอกับลูกค้าที่ต่อแล้ว
ต่ออีกแบบคุณนับไม่ถ้วน แล้วจะเอากำไรที่ไหนมาเหลือ
เมื่อเริ่มเอ่ยปากต่อราคา อย่าให้ต่ำมาจนน่าเกลียด เช่น ต่อเกินครึ่ง
แบบนี้ก็โหดไปหน่อย ควรหยั่งเชิงต่อให้ใกล้กับราคาที่เรา พอใจ จะซื้อได้ก่อน
แล้วค่อยๆ ตะล่อมคนขาย ให้ใจอ่อน ยอมลดให้ ถึงที่สุดดีกว่า และถ้าไม่ได้จริงๆ
ก็อย่าพยายามตื้อมาก ให้พบกัน ครึ่งทางจะได้สบายใจ ทั้งคนซื้อและคนขาย
อย่าทำเหมือนกับว่าการต่อราคาเป็นเรื่องสนุก ต้องเอาชนะคนขายให้ได้
ยิ่งได้ของถูกเท่าไหร่ ยิ่งภูมิใจ ในขณะเดียวกันคนขายคงไม่สนุกด้วย
อย่าขี้เหนียวเกินเหตุ เพราะบางคนอาจจะมีฐานะทางเศรษฐกิจ ที่ค่อนข้างดี
ใช้จ่ายไม่ขัดสน ถ้าไปเจอของซึ่งราคาจริงก็ถูกมากอยู่แล้ว เช่นว่าอาจจะ ไม่ถึง
50 หรือ 100 บาท ถ้าของชิ้นนั้นคุณภาพสมราคา ซื้อได้ก็ซื้อไปเถอะ อย่าไปต่อให้เหนื่อยเลย

0 comments:

Post a Comment